คุณรู้จักมอดเจาะกาแฟมั้ย?
Coffee Berry Borer มอดเจาะกาแฟหรือที่รู้จักกันในชื่อ Coffee Berry Borer; CBB (Hypothenemus hampei) เป็นแมลงปีกแข็งขนาดจิ๋ว แต่ความแสบนั้นไม่จิ๋วเหมือนชื่อเลย
มอดเจาะกาแฟเป็นแมลงศัตรูกาแฟมานานนับ 10 ปี แต่เกษตรกรอาจไม่ทันระวัง หรือตะหนักถึงผลกระทบที่จะตามมาในระยะยาว ด้วยขนาดที่เล็กมากตัวเต็มวัยมีความยาวลำตัวเพียง 1.4 -1.7 มิลลิเมตร สามารถบินได้ไกลถึง 150-500 เมตร และมีระยะการเจริญพันธุ์ที่รวดเร็วจากช่วงวางไข่จนตัวเต็มวัยเพียง 30 วัน สมมุติว่ามอด 1 ตัวสามารถผลิตมอดตัวเต็มวัยได้ประมาณ 20 ตัว หากมอดเพศเมีย 1 ตัวเจาะผลกาแฟเพื่อวางไข่ในเดือนกรกฎาคมโดยเริ่มเจาะผลอ่อน เมื่อเวลาผ่านไป 5 เดือนช่วงผลกาแฟเริ่มสุก มอดจะเพิ่มจำนวนแบบเอ็กโพเนนเชียล (ทวีคูณ) จะมีมอดในสวนกาแฟถึง 3,200,000 ตัว (สามล้านสองแสนตัว) นั่นหมายความว่าเกิด defect ที่ต้องคัดทิ้งหลายร้อยตันเลยทีเดียว
มอดตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายผลกาแฟได้ตั้งแต่ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 2.3 มิลลิเมตร เพศเมียจะเจาะบริเวณปลายหรือสะดือของผล มอดอาศัยกัดกิน ขยายพันธุ์ในผลจนกระทั่งผลกาแฟสุก จนแห้งคาต้น หรือจะหล่นลงพื้นดิน และยังคงทำลายเมล็ดกาแฟกะลาระหว่างการตากอีกด้วย แถมยังชื่นชอบสภาพอากาศที่แปรปวน วงจรชีวิตยิ่งสั้น ยิ่งเพิ่มจำนวนทวีคูณได้เร็วขึ้นอีก ร่องรอยการเข้าทำลายของมอดเจาะผลกาแฟจะเห็นเป็นรูขนาดเล็กที่ปลายผลสังเกตเห็นได้ยาก แต่กลับส่งผลสร้างความสูญเสียอย่างรุนแรง เรียกได้ว่าผลกาแฟเป็นทั้งบ้านกันอบอุ่นและอาหารอันโอชะของเจ้ามอดเจาะกาแฟเลยทีเดียว
เจ้ามอดกาแฟตัวจิ๋วที่สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมกาแฟทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ ผลกาแฟที่ถูกเจาะนั้น เป็นช่องทางให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้ามาทำร้ายผลกาแฟซ้ำอีก ทำให้ผลร่วงเสียหาย ส่งผลให้ผลผลิตกาแฟลดลง ผลกาแฟที่มอดเจาะทำลายเมล็ดกาแฟที่ได้จะไม่มีคุณภาพ หากนำมาคั่วแล้ว จะมีกลิ่นของเชื้อรา หรือกลิ่นคล้ายสารเคมีรสชาติที่ได้จะมีรสขมแปล่งๆ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) ส่งผลต่อการแพร่ระบาดของมอดกาแฟในปัจจุบัน ยิ่งอากาศแปรปรวนมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งทำให้มอดโตเร็วขึ้นเท่านั้น ทำให้มอดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรผู้ปลูกกาแฟ การระบาดขยายวงกว้างและยังไม่สามารถควบคุมได้ ยังขาดการกระจายความรู้ที่ทั่วถึง และต้องอาศัยความร่วมมือของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่เดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นปัจจัยให้ต้นทุนของผลผลิตกาแฟในตลาดสูงขึ้น
ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลดีๆจาก : Coffeetraveler
ติดตามอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับมอดเจาะกาแฟเพิ่มเติมได้ทาง @Coffee Treveller
วิกฤตสภาพอากาศที่บราซิล กับปัญหากาแฟขึ้นราคา
"วิกฤติสภาพอากาศที่บราซิล กับปัญหากาแฟขึ้นราคา"
Quality Water for Quality Coffee
Quality Water for Quality Coffee
Sidra / Sydra แท้จริงแล้วมาจากไหน?
Sidra / Sydra แท้จริงแล้วมาจากไหน?
The Auromar ฟาร์มกาแฟดีกรีอันดับต้นๆ ของประเทศ Panama
The Auromar Farm เป็นฟาร์มกาแฟดีกรีอันดับต้นๆ ของ Panama ติด Top 30 Coffees by the Coffee Review หลายปีซ้อน ตั้งอยู่ที่ความสูง 1,570 – 1,770 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล บนที่ราบสูง Candela ทางตะวันตกเฉีย