คุณรู้จักมอดเจาะกาแฟมั้ย?
Coffee Berry Borer มอดเจาะกาแฟหรือที่รู้จักกันในชื่อ Coffee Berry Borer; CBB (Hypothenemus hampei) เป็นแมลงปีกแข็งขนาดจิ๋ว แต่ความแสบนั้นไม่จิ๋วเหมือนชื่อเลย
มอดเจาะกาแฟเป็นแมลงศัตรูกาแฟมานานนับ 10 ปี แต่เกษตรกรอาจไม่ทันระวัง หรือตะหนักถึงผลกระทบที่จะตามมาในระยะยาว ด้วยขนาดที่เล็กมากตัวเต็มวัยมีความยาวลำตัวเพียง 1.4 -1.7 มิลลิเมตร สามารถบินได้ไกลถึง 150-500 เมตร และมีระยะการเจริญพันธุ์ที่รวดเร็วจากช่วงวางไข่จนตัวเต็มวัยเพียง 30 วัน สมมุติว่ามอด 1 ตัวสามารถผลิตมอดตัวเต็มวัยได้ประมาณ 20 ตัว หากมอดเพศเมีย 1 ตัวเจาะผลกาแฟเพื่อวางไข่ในเดือนกรกฎาคมโดยเริ่มเจาะผลอ่อน เมื่อเวลาผ่านไป 5 เดือนช่วงผลกาแฟเริ่มสุก มอดจะเพิ่มจำนวนแบบเอ็กโพเนนเชียล (ทวีคูณ) จะมีมอดในสวนกาแฟถึง 3,200,000 ตัว (สามล้านสองแสนตัว) นั่นหมายความว่าเกิด defect ที่ต้องคัดทิ้งหลายร้อยตันเลยทีเดียว
มอดตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายผลกาแฟได้ตั้งแต่ผลมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 2.3 มิลลิเมตร เพศเมียจะเจาะบริเวณปลายหรือสะดือของผล มอดอาศัยกัดกิน ขยายพันธุ์ในผลจนกระทั่งผลกาแฟสุก จนแห้งคาต้น หรือจะหล่นลงพื้นดิน และยังคงทำลายเมล็ดกาแฟกะลาระหว่างการตากอีกด้วย แถมยังชื่นชอบสภาพอากาศที่แปรปวน วงจรชีวิตยิ่งสั้น ยิ่งเพิ่มจำนวนทวีคูณได้เร็วขึ้นอีก ร่องรอยการเข้าทำลายของมอดเจาะผลกาแฟจะเห็นเป็นรูขนาดเล็กที่ปลายผลสังเกตเห็นได้ยาก แต่กลับส่งผลสร้างความสูญเสียอย่างรุนแรง เรียกได้ว่าผลกาแฟเป็นทั้งบ้านกันอบอุ่นและอาหารอันโอชะของเจ้ามอดเจาะกาแฟเลยทีเดียว
เจ้ามอดกาแฟตัวจิ๋วที่สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมกาแฟทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ ผลกาแฟที่ถูกเจาะนั้น เป็นช่องทางให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้ามาทำร้ายผลกาแฟซ้ำอีก ทำให้ผลร่วงเสียหาย ส่งผลให้ผลผลิตกาแฟลดลง ผลกาแฟที่มอดเจาะทำลายเมล็ดกาแฟที่ได้จะไม่มีคุณภาพ หากนำมาคั่วแล้ว จะมีกลิ่นของเชื้อรา หรือกลิ่นคล้ายสารเคมีรสชาติที่ได้จะมีรสขมแปล่งๆ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) ส่งผลต่อการแพร่ระบาดของมอดกาแฟในปัจจุบัน ยิ่งอากาศแปรปรวนมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งทำให้มอดโตเร็วขึ้นเท่านั้น ทำให้มอดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรผู้ปลูกกาแฟ การระบาดขยายวงกว้างและยังไม่สามารถควบคุมได้ ยังขาดการกระจายความรู้ที่ทั่วถึง และต้องอาศัยความร่วมมือของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่เดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นปัจจัยให้ต้นทุนของผลผลิตกาแฟในตลาดสูงขึ้น
ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลดีๆจาก : Coffeetraveler
ติดตามอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับมอดเจาะกาแฟเพิ่มเติมได้ทาง @Coffee Treveller
วิกฤตสภาพอากาศที่บราซิล กับปัญหากาแฟขึ้นราคา
"วิกฤติสภาพอากาศที่บราซิล กับปัญหากาแฟขึ้นราคา"
Sidra / Sydra แท้จริงแล้วมาจากไหน?
Sidra / Sydra แท้จริงแล้วมาจากไหน?
Quality Water for Quality Coffee
Quality Water for Quality Coffee
The Auromar ฟาร์มกาแฟดีกรีอันดับต้นๆ ของประเทศ Panama
The Auromar Farm เป็นฟาร์มกาแฟดีกรีอันดับต้นๆ ของ Panama ติด Top 30 Coffees by the Coffee Review หลายปีซ้อน ตั้งอยู่ที่ความสูง 1,570 – 1,770 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล บนที่ราบสูง Candela ทางตะวันตกเฉีย